Cute Unicorn

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

วันพฤหัสบดีที่ 11พฤษภาคม พ.ศ.2560
     
ความรู้ที่ได้รับ
     เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่มีการเรียนการสอนอาจารย์ได้ให้นักศึกษานำผลงานที่มีทั้งหมดมาจัดโชว์ผลงานที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พร้อมให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำที่ดี ของสื่อแต่ละคนที่ได้ทำมา ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดค่ะ
สื่อการสอนเดี่ยวของข้าพเจ้า เรื่อง วัฏจักรการเกิดฝน

                                                                     
สื่อที่ได้จัดทำขึ้น
                                                                   





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     จะนำความรู้ที่ได้รับตั้งแต่ได้ศึกษามานำไปใช้ในการผลิตสื่อขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งของเหลือใช้ หรือต่างๆ จะนำความรู้ที่ได้ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเองและสังคม
การประเมินผล
      ตนเอง : ร่วมมือกับเพื่อนๆช่วยกันจัดสื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และช่วยกันเก็บ
      อาจารย์ :ให้คำแนะนำที่ดี
      สภาพแวดล้อม: น่าเรียนมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

     ⧫ชิ้นแรกเป็นหนอนกระดาษพับกระดาษและตัดกระดาษให้เป็นตัวหนอน วาดรูปขา ตัดกระดาษตามที่เราวาด ตัดกระดาษเป็นหัว ติดตา 
     ⧫ชิ้นที่สอง หนอนจากหลอด ตัดกระดาษลังลอกให้เป็นหยักๆนำมาประกอบเป็นใบไม้ตัดกระดาษสีมาติด หลังจากนั้นนำหลอดมาทำเป็นตัวหนอน
การนำไปประยุกต์ใช้
      ได้ประดิษฐ์สื่อในรูปแบบที่หลากหลาย ได้รู้วิธีการทำสื่อชนิดต่างๆจากที่เพื่อนๆนำเสนอ
การประเมินผล
       ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อน
       อาจารย์ : พร้อมให้คำแนะนำและตอบข้อสงสัย
       สภาพแวดล้อม : สื่อ อุปกรณ์ครบ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
 *เนื่องจากยังอยู่บ้านต่างจังหวัดไม่สามารถกลับมาทันเพราะไม่มีรถ* จึงได้นำข้อมูลมาอ้างอิงจากนางสาวศุภพิชญ์  กาบบาลี ดังนี้

   วันนี้ไปเรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม วันนี้อาจารย์ได้สั่งงานก่อนอื่นอาจารย์มีการเปิดสื่อแต่ละชนิดให้ดูเช่น ตารางกิจวัตรประจำวัน สภาพอากาศ  บอร์ดประถมนิเทศ
โดยอาจารย์มีการแบ่งงานดังนี้ ชาร์ตเพลงทำเป็นคู่คู่ละ1เพลง
               📌กลุ่มหนึ่ง ทำกิจวัตรประจำวัน และสภาพอากาศ    (8คน)
               📌กลุ่มสอง ทำบอร์ดสมาชิก และบอร์ดวันเกิด   (7คน)
               📌กลุ่มสาม ทำป้ายนิเทศ และธนาคารคำ  (8คน )
            เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจนและแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มว่าแต่ละคนต้องทำอะไรบ้าง และร่วมกันวางแผนในการทำงานชิ้นนี้






การประยุกต์ใช้
               สามารถนำเอาเทคนิคที่อาจารย์ได้แนะนำไปประดิษฐ์สื่อชิ้นต่างๆได้ และสื่อที่ทำขึ้นมา
สามารถนำเอาไปใช้ในห้องเรียนของเด็กปฐมวัยได้จริง

การประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์อธิบายสื่อแต่ละชนิดและมีการแนะนำวิธีการทำเกี่ยวกับสื่อแต่ชนิดที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย
        ตนเอง: รู้สึกชอบที่ได้เปลี่ยนบรรยากาศไปเรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายกลุ่มต่างวางแผนงานของกลุ่มตนเองเป็นอย่างดี






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
   
นำสื่อสองชิ้นที่อาจารย์ให้เว็บไปศึกษาและเลือกทำมาส่งอาจารย์ซึ่งข้าพเจ้าเลือกทำหนอนกระดาษและหนอนที่ทำจากหลอด





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         ได้รู้ว่ามีวิธีการทำสื่อที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้กับเด็กได้
การประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์อธิบายสื่อแต่ละชนิดและมีการแนะนำเกี่ยวกับสื่อ
        ตนเอง: รู้สึกชอบและพอใจในสื่อที่ตนเองทำ
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนต่างก็นำสื่อของตนเองมาเพื่อส่ง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์นำเกมการศึกษาของรุ่นพี่ที่เคยทำไว้มาให้ดู มีหลายเกมมาก เช่น เกมจับคู่
 เกมภาพตัดต่อ เกมจัดหมวดหมู่ จะเห็นความแต่กต่างของแต่ละเกม เกมจับคู่ก็จะมีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น
             ⧭  เกมจับคู่

  • จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
  • จับคู่ภาพกับเงา
  • จับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน สิ่งที่ใช้คู่กัน
  • จับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
  •       ⧭  เกมจัดหมวดหมู่ 
  • จัดหมวดหมู่ของผัก
  • จัดหมวดหมู่ของผลไม้
  • จัดหมวดหมู่ของสัตว์
  •           เกมการศึกษาแต่ละอย่างมีการทำที่แตกต่างกันออกไปแต่ไม่มากนัก จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อ4ชนิดคือ ลอตโต้ จับคู่ภาพเงา จัดหมวดหมู่ จิ๊กซอร์




    • การประยุกต์ใช้
    •                 ในอนาคตเราสามารถทำเกมการศึกษาขึ้นมาเองได้เพื่อ มาให้เด็กใช้เล่นเพื่อเสริมความรู้ได้ในเรื่องที่เราต้องการจะสอน โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ
    • การประเมิน
    •           อาจารย์: อาจารย์ได้นำสื่อที่รุ่นพี่ได้ทำไว้มาเพื่อให้ศึกษาว่าสื่อแต่ละอย่างทำอย่างไร อาจารได้ให้ข้อแนะนำ และข้อควรระวังในการทำแตะละชนิด
    •          ตนเอง:วันนี้ได้ลองนำสื่อที่รุ่นพี่ได้ทำไว้นำมาเล่นและดูแต่ละประเภท ว่ามีการเล่นอย่างไร เด็กจะได้เรื่องของอะไรบ้าง
    •          สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนต่างนำสื่อออกมาเล่นกันอย่างมากมาย และมีการวิเคราะห์สื่อแต่ละชนิดว่าเป็นอย่างไร

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 14.30-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

   
    อาจารย์ได้เปิดสื่อของเด็กปฐมวัยให้ดูจาก เพจ 拼學趣     ในเพจนี้เป็นเพจที่มีสื่อมากมายบางชิ้นสามารถนำมาสอนเรื่องแรงลม วิทยาศาสตร์ ได้ และบางงชิ้นก็สามารถนำมาวางตามมุมให้เด็กได้ลองเล่นได้ แต่ละสื่อมีเทคนิคการประดิษฐ์ แต่ละชิ้นให้ดูอย่างชัดเจน สื่อแต่ละชนิดมีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ ทำให้เราได้ไอเดียดีๆในการทำสื่อชนิดอื่นๆ
                     อาจารย์ได้สั่งให้ทำชิ้นงานประดิษฐ์คนละ 2ชิ้น โดยดูการประดิษฐ์จากเพจนี้พร้อมกับนำสื่อมาส่งในวันพุธที่5เมษายน 2560


การประยุกต์ใช้
                เราสามารถนำไอเดีย เทคนิคในการทำสื่อในเพจนี้ไปประดิษฐ์สื่อได้ อาจจะมีการเอามาปรับเปลี่ยนลูกเล่นบางอย่างให้เข้ากับเนื้อหาที่เราสอนได้ สื่อบางอย่างก็สอนได้ในหลายเรื่องในชิ้นเดียวกัน


การประเมิน
        อาจารย์: อาจารย์อธิบายสื่อแต่ละชนิดและมีการแนะนำเกี่ยวกับสื่อที่ดีและไม่ดีเทคนิคต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ พร้อมกับเปิดให้ดูวิธีทำในเพจไปด้วย 
        ตนเอง: มีความสนใจในสื่หลายๆอย่าง และสื่อบางชิ้นไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้มีไอเดียใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย
       สิ่งแวดล้อม: เพื่อนหลายคนต่างจับจองที่จะทำสื่อตามเพจนี้  และมีความสนใจในเพจนี้เป็นอย่างดี




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 14.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ


*เนื่องจากไปทำธุระที่กองทัพไทย อ้างอิงจากนางสาวสุวนันท์  เพ็ชรักษ์*
     ประกอบสื่อชิ้นเก่า และทำสื่อ 2 ชิ้น ทำดอกไม้ประกอบการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยภายในดอกไม้จะมีเสียงเพราะใส่เม็ดข้าวเข้าไป อีกชิ้นคือโมบายดาว

- ประกอบสื่อเก่า


- ทำสื่อชิ้นใหม่ (อาจารย์สอนวิธีทำ)








- ผลงานที่ได้

                                       
                                     (ทำร่วมกันในกลุ่มเพื่อเป็นตัวอย่างในการทำชิ้นเดี่ยว)




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถใช้สื่อประกอบกับการสอนเคลื่อนไหวได้ 

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     ตั้งใจทำสื่อของตัวเอง และช่วยเพื่อน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อ แบ่งกระดาษแบ่งกาวกันใช้ ไม่เสียงดังรบกวนเพื่อนๆในห้อง

- ประเมินอาจารย์

    อาจารย์สอนทำสื่อ และทำตัวอย่างสื่อให้ดู บอกเทคนิกและข้อระวังของสื่อชิ้นนั้น